วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

28 กันยายน 2563

 🌼บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6🌼


ความรู้ที่ได้รับ
เช้าวันจันทร์ที่สดใสในสัปดาห์นี้ นักศึกษาได้นำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย คือ "การนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้" โดยมีการนำเสนอทั้ง 6 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่1.การจัดการเรียนรู้แบบไฮสโคป


  แนวการสอนแบบไฮ/สโคป เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือทำผ่านมุมกิจกรรมที่หลากหลาย ที่มีสื่อและการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กเป็นตัวช่วย โดยปล่อยให้เด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระด้วยตัวเอง

การเรียนการสอน/หัวใจหลัก

⤷Plan การวางแผน

⤷Do การปฏิบัติ

⤷Review การทบทวน กระบวนการที่ให้เด็กสะท้อนผลงานของตนเอง 

 แก่นวงล้อการเรียนรู้ของไฮสโคป

 1.การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ

2.ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ใหญ่-เด็ก 

3.สภาพแวดล้อมของการเรียนรู้

4.กิจวัตรประจำวัน⇒Plan Do Review

5.การประเมินพัฒนาการ⇒ แบบสังเกต แบบบันทึกพฤติกรรม


กลุ่มที่2.การจัดการเรียนแบบโครงการ

การจ้ดการเรียนรู้แบบProject Approach คือ การส่งเสริมให้เด็กศึกษาสิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยความลุ่มลึกตามความสนใจ ผ่านกระบวนการคิดและแก้ปัญหาจากตัวของเด็กเอง จนได้คำตอบที่ต้องการเพื่อนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้นำเสนอต่อผู้อื่น โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการเท่ากับปริมาณเนื้อหาและเพียงพอต่อความสนใจของเด็ก  ส่งผลให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันโดยมีครูเป็นผู้แนะนำและอำนวยความสะดวก

การสอน 3 ระยะของ Project Approach
ระยะที่ 1 : การเริ่มต้นโครงการ⇒การทบทวนความรู้จากเด็ก เลือกหัวข้อเรื่องจากสิ่งที่เด็กสนใจ
ระยะที่ 2 : การพัฒนาโครงการ⇒เด็กค้นคว้า ลงพื้นที่
ระยะที่ 3 : การสรุปโครงการ⇒การจัดนิทรรศการ 


กลุ่มที่ 3.การจัดการเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่


การสอนแบบมอนเตสซอรี่
เริ่มจากการสังเกต ศึกษาพัฒนาการของเด็กของแต่ละคน การสอนแบบมอนเตสซอรี่จะไม่เน้นการเรียนรู้แบบท่องจำ แต่จะเน้นการเล่นหรือการทำกิจกรรมเป็นหลัก โดยการให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ตัวเองสนใจ มอนเตสซอรี่ได้จัดทำอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายตามความสนใจและตามวุฒิภาวะของเด็กที่แตกต่างกัน ซึ่งจะช่วยพัฒนาทางด้านประสบการณ์ชีวิต งานวิชาการ และทางประสาทสัมผัส เช่น การแต่งกาย การทำความสะอาด
➤หลักการสอนของมอนเตสซอรี่
1.เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือ
2.เด็กมีจิตที่ซึมซับได้
3.ช่วงเวลาหลักของชีวิต
4.การเตรียมสิ่งแวดล้อม
5.การศึกษาด้วยตนเอง
➤กลุ่มกิจกรรมแบ่งตามวัสดุอุปกรณ์ได้3 กลุ่ม การสอน

1.กลุ่มประสบการณ์ชีวิต

2.กลุ่มประสาทสัมผัส

3.กลุ่มวิชาการ

  ➤วิธีการสอน3 ขั้นตอน

ขั้นแรก:สังเกตเห็นลักษณะของสิ่งนั้น

ขั้นที่2: สังเกตเห็นความแตกต่าง

ขั้นที่3: เห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งของที่มีความเหมือนกัน

➤การวัดและการประเมิน

การสังเกต ⇒ ความสามารถในการทำกิจกรรมของเด็กในแต่ละกลุ่มกิจกรรม


 กลุ่มที่ 4.การจัดการเรียนรู้แบบSTEM

คำว่า “สะเต็ม” หรือ “STEM” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology)  วิศวกรรมศาสตร์(Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics)  หมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน

ความสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็ม
1.พัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่21
2.ส่งเสริมการทำกิจกรรมแบบบูรณาการ
3.กระบวนการเรียนรู้เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เป็นหัวข้อเรื่องในชีวิตจริงของเด็กสอดคล้องกับปรัชญา และแนวคิดทางการศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยตั้งคำถามสืบค้นโดยใช้ ความสามารถในการสังเกต ช่วยเด็กคิดเกี่ยวกับกระบวนการในการทำงานของตน
4.ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้มากที่สุด
5.จัดบรรยากาศในชั้นเรียนส่งเสริมการกล้าแสดงออก การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
6.ส่งเสริมให้เด็กรักและเห็นคุณค่าของการเรียน

ประโยชน์
1.ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
2.ผู้เรียนเข้าใจสาระวิชาและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มากขึ้น
3.ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้และเชื่อมโยงกันระหว่างกลุ่มสาระวิชา
4.หน่วยงานภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมสนับสนุนการจัดกิจกรรมของครูและบุคลากรทางการศึกษา
5.สร้างกำลังคนด้านสะเต็มของประเทศไทย เพื่อเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของชาติ



กลุ่มที่5 การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
➥การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 
ที่เน้นให้นักเรียนมีประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้ โดยการแสวงหาและศึกษาค้นคว้า เพื่อสร้างองค์ความรู้ของตนเอง โดยใช้กระบวนการทางวิทยศาสตร์ ซึ่งมีครูผู้สอนคอยอำนวยการและสนับสนุน ทำให้ผู้เรียนสามารถค้นพบความรู้หรือแนวทางแก้ปัญหาได้ตัวเอง และสามารถนํามาใช้ในชีวิตประจําวัน 
➥วิธีสอน คือ  ขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ด้วยวิธีต่างๆที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบ และขั้นตอนสำคัญอันเป็นลักษณะเด่น หรือลักษณะเฉพาะที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั้นๆ เช่น วิธีการสอน โดยใช้บรรยายองค์ประกอบสำคัญของการบรรยาย คือ เนื้อหาสาระที่จะบรรยาย และการบรรยาย ขั้นตอนสำคัญ คือ การเตรียมเนื้อหา การบรรยาย(พูด บอก เล่า อธิบาย) และการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการบรรยาย

รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน


กลุ่มที่6 การจัดการเรียนรู้แบบวอดอร์ฟ
➣หลักการสอน
                หัวใจของการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ  คือ  การสร้างความสมดุลของจิตมนุษย์  3 ประการ  ได้แก่  ความคิด  ความรู้สึก  และการกระทำ  โดยไม่มีการรบกวนจากเทคโนโลยีภายนอก  ความสงบทางจิตใจจะช่วยให้เด็กเรียนรู้จากการใช้วินัยในตนเอง

➣วิธีจัดการเรียนการสอ การเรียนการสอนตามแบบวอลดอร์ฟเป็นวิธีการตามแบบธรรมชาติ  เป็นไปตามบรรยากาศของชุมชนและตารางกิจกรรมประจำวัน  ที่ครูและผู้เรียนจะเรียนรู้ร่วมกันตามความสนใจของเด็ก  วิธีการจัดการเรียนการสอนจะเป็นการจัดกระทำทั้งระบบตั้งแต่บรรยากาศของโรงเรียน  สิ่งแวดล้อมและห้องเรียนต้องเป็นไปตามวิถีธรรมชาติ  รวมถึงการจัดการเรียนการสอนของครู  ในขั้นตอนการสอนของครูจะมีลักษณะเฉพาะต่างจากการเรียนการสอนแบบอื่น ๆ  ตรงที่การกระตุ้นการเรียนรู้เริ่มจากการแสดงแบบให้เด็กเห็นตามบรรยากาศที่จูงใจ

➣การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ 
                การเรียนรู้ของวอลดอร์ฟมาจากการซึมซับด้วยการสืบสานโดยตามธรรมชาติและตามธรรมชาติที่หล่อหลอมเข้าภายในตัวเด็กทั้งกายและจิตวิญญาณ  บรรยากาศการเรียนรู้รอบตัวเด็กทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนหรือกลางแจ้งต้องเป็นบรรยากาศที่งดงามตามธรรมชาติที่บริสุทธิ์  ประกอบด้วยความสงบและอ่อนโยน
 ➣บทบาทครู 
ครูต้องทำหน้าที่ในการติดตามประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของเด็กในการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล  ครูมิใช่เป็นเพียงผู้ที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้  แต่ครูจะถ่ายทอดความคิด  ความรู้สึก  ความมุ่งมั่นและความรักอย่างแท้จริงให้กับเด็กเพื่อให้เด็กได้พบโอกาสของการพัฒนาศักยภาพภายในตนเองได้มากที่สุดและเต็มศักยภาพ

💐การประเมิน
ประเมินตนเอง ให้ความร่วมมือภายในกลุ่มได้ดี สามารถอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจ มุ่งมั่นและตั้งใจในการเรียนรู้
ประเมินเพื่อน บ้างกลุ่มยังมีการอธิบายเนื้อหาที่เยอะเกินไป ส่วนใหญ่เพื่อนตั้งใจ และมีการนำเสนอได้ดี
ประเมินอาจารย์ เป็นผู้ตั้งคำถามให้เกิดกระบวนการคิด และอภิปรายเนื้อหาการนำเสนอ เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงแนวทางการจัดการเรียนรู้รูปแบบต่างๆที่ได้นำเสนอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น