วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2563

Article summary







 

🌷สรุปบทความ🌷

เรียบเรียงโดย บรรณาธิการED-TECH

ที่มาและความหมายของ “การจัดประสบการณ์แบบโครงงาน”

      เริ่มจาก John Dewey ได้เสนอแนวคิด “เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ (Learning by doing)” ในหนังสือชื่อ My Pedagogical Creed (1897) โดยเขากล่าวถึงความเชื่อเกี่ยวกับการศึกษาว่า “ครูไม่ใช่ผู้กำหนดความคิดหรือจัดพฤติกรรมแบบหนึ่งแบบใดให้กับเด็ก แต่เป็นสมาชิกของชุมชนที่จะสร้างอิทธิพลที่มีผลให้เด็กช่วยตนเองได้ตอบสนองกลับมาอย่างเหมาะสม ที่จะเกิดการแสดงออกที่สร้างสรรค์ภายในศูนย์การเรียนรู้ที่ถูกต้อง”

การจัดประสบการณ์แบบโครงงานสำหรับเด็กปฐมวัย

 ศิรินาถ บัวคลี่ ผู้เขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง “การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใช้การจัดประสบการณ์แบบโครงงาน” ได้รวบรวมขั้นตอนการจัดกิจกรรมโครงงานที่นักวิชาการต่างๆ ได้กำหนดไว้ แล้วสรุปขั้นตอนวิธีสอนแบบโครงงานเป็น 3 ระยะ ดังนี้

            ะยะที่ 1 เด็กเลือกเรื่องที่สนใจอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เด็กได้เล่าประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ เด็กร่วมกันตั้งคำถามในสิ่งที่เด็กอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น เด็กเลือกคำถามและนำคำถามมาจัดในรูปของแผนภูมิใยแมงมุม (Web)

            ระยะที่ 2 เด็กช่วยกันหาคำตอบเป็นกลุ่มและเป็นรายบุคคล ด้วยการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เด็กได้วางแผนร่วมกันในการจัดกิจกรรมต่างๆ ดำเนินกิจกรรมตามแผนที่วางไว้โดยครูเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือในการทำกิจกรรมให้เด็กได้ค้นพบคำตอบ

            ระยะที่ 3 เด็กทบทวนและมีการแลกเปลี่ยนความรู้ไปสู่บุคคลภายนอกด้วยการจัดนิทรรศการผลงานทั้งของกลุ่มและของรายบุคคล และเชิญคุณครู ผู้ปกครอง เพื่อนนักเรียนชั้นอื่น เข้าชมนิทรรศการ เด็กนำเสนอผลงาน ตอบข้อซักถามและสรุปผลโครงงานตั้งแต่เริ่มโครงงานจนจบโครงงาน

ประโยชน์จากการจัดประสบการณ์แบบโครงงานสำหรับเด็กปฐมวัย

การเรียนรู้แบบการลงมือปฏิบัติ เป็นการสอนที่ทำให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างครบถ้วน ทั้งยังสอดคล้องกับแนวการพัฒนาคนให้มีคุณภาพในศตวรรษที่ 21 กล่าวคือ เยาวชนที่อยู่ในโลกศตวรรษที่ 21 จำเป็นต้องมีทักษะ 3ร. และ 4ก.ดังนี้

ทักษะ 3ร.

            1. รู้อ่านรู้เขียน (Literacy) ไม่เพียงแต่อ่านออกเขียนได้ แต่เมื่อทำโครงงานแล้ว เด็กเข้าใจความหมายของคำต่างๆ สามารถสื่อสารคำเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

            2. รู้คณิต (Numeracy) ไม่เพียงแต่คิดเลขเป็นเท่านั้น เด็กสามารถนำความรู้เชิงคณิตศาสตร์ เช่น เลขคณิต เรขาคณิต ตรีโกณมิติ ฯลฯ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตได้ ตัวอย่าง บอกรูปทรงเรขาคณิตได้ เป็นต้น

            3. รู้ ICT (Information and communications technology literacy) เด็กเข้าใจและใช้เทคโนโลยีเพื่อสื่อสารได้

 

        ทักษะ 4ก.

            1. การคิดแบบมีวิจารณญาณ (Critical thinking) เด็กสามารถคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลได้ ทำให้เข้าใจเนื้อหาวิชาได้อย่างแท้จริง

            2. การสื่อสาร (Communication) เด็กใช้เทคโนโลยีเพื่อสื่อสารได้ รวมทั้งรู้วิธีสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจในสิ่งที่ตนต้องการสื่อได้

            3. การทำงานร่วมกัน (Collaboration) เด็กทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เรียนรู้การเป็นผู้นำ เป็นผู้ตาม ตลอดจนการน้อมรับคำวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่น

            4. การสร้างสรรค์ (Creativity) การทำโครงงานช่วยให้เด็กได้จินตนาการเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ นอกเหนือจากการเรียนจากตำราเพียงอย่างเดียว

สรุป

 ทั้งนี้เด็กปฐมวัยมีความคิดเห็นว่าการจัดประสบการณ์แบบโครงงานทำให้ได้ลงมือปฏิบัติจริง มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน มีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเด็กกับเด็ก และเด็กกับครู

 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น